by zalim-code.com
by zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สอบปลายภาค

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมจัดให้นักศึกษาสอบปลายภาค วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 - 5 มีนาคม 2557

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่15

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่  13  กุมภาพันธ์  2557
กลุ่มเรียน102   วันพฤหัสบดี  เวลา 15.00-17.30น.
เนื้อหาที่เรียน
    -อาจารย์อธิบายเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ การดูแลให้ความช่วยเหลือ  การรักษาด้วยยาและหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    -อาจารย์แนะนำการทำข้อสอบปลายภาค



การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้ 
      -ได้รับความรู้ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเด็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นแนวปฏิบัติหรือความรู้พิ้นฐานในอนาคตได้ เมื่อเจอเด็กที่มีความต้องการพิเศษในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่14

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่  6 กุมภาพันธ์   2557
กลุ่มเรียน102 วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.30น.


                      ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ไปศึกษาดูงานต่างจังหวัด

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่13

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่  30  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน102 วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.30น.


เนื้อหาที่เรียน

-อาจารย์อธิบายการดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ดังนี้

ดาวซินโดรม

-รักษาตามอาการ

-แก้ไขความผิดปกติร่วมด้วย

-ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด

เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)

1.ด้านสุขภาพอนามัย

บิดามารดา พาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามอาการเป็นระยะๆ

2.การส่งเสริมพัฒนาการ

เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3.การดำรงชีวิตประจำวัน

ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองมากที่สุด

4.การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก

-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด

-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)

-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะกาดำรงชีวิตประจำวัน

-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก

-ยอมรับความจริง

-เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป

-ให้ความรักความอบอุ่น

-ตรวจภายใน หามะเร็งปากมดลูก

-คุมกำเนิด ทำหมัน

-การสอนเพศศึกษา

-ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ

-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภาษา

-สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น

-สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้

-ลดปัญหาพฤติกรรม

-คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาและทำงานดีขึ้น

ออทิสติก

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว

-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถของเด็ก

-การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย

-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

-การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม

-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

-การให้แรงเสริม

การฝึกพูด

-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า

-ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเหมือนกับเด็กปกติจะมีเพิ่มมากขึ้น

-ลดภาษาที่ไม่เหมาะสม

-ช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความหมายที่ต้องการได้

-การสื่อความหมายทดแทน(AAC)

การส่งเสริมพัฒนาการ

-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย

-เน้นในเรื่องการมองหน้า การสบตา การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง

-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา

-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด

-แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล

-โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม

-ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกทักษะทางสังคม

-ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
-Metheylphenidate(Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ

-Risperidone /Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ ก้าวร้าวรุนแรง

-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลกับรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

การบำบัดทางเลือก
-(AAC) การสื่อความหมายทดแทน

-(Art Therapy)ศิลปกรรมบำบัด

-(Music Therapy)ดนตรีบำบัด

-(Acupuncture)การฝังเข็ม

-(Animal Therapy)การบำบัดด้วยสัตว์

พ่อแม่
-ลูกต้องพัฒนาได้

-เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร

-ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก

-หยุดไม่ได้

-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้แข็งแรง

-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส

-ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว
-อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรื่อง กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-ได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางได้ เมื่อเจอเด็กพิเศษสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่12

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่  23  มกราคม  2557
กลุ่มเรียน102 วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.30น.


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำสนอออกมานำเสนองาน 
 เด็กออทิสติก
เด็ก Austitim  ความหมายถึงเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ผู้ปกครอง คุณครูรวมทั้งผู้ร่วมงาน ก็มีปัญหากับเด็กที่ไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากพฤติกรรมที่ทำซ้ำซาก
Autism คืออะไร
โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึกเด็กที่เป็น Autism เด็กปกติ
การสื่อสาร
ไม่มองตา
เหมือนคนหูหนวก
เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ดูหน้าแม่
หันไปตามเสียง
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
 ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
จำคนไม่ได้
เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
จำหน้าแม่ได้
 ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
ดมหรือเลียตุ๊กตา
ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
เปลี่ยนของเล่น
การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ
อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น  เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง
ปัญหาด้านภาษา
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก) การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง  เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน  เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน  เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน  เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ  เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น รูป รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก
การวินิจฉัย
ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ
สาเหตุของ Autism
สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
 การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง
 พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
 ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด
โรคที่พบร่วมกับ Autism
 ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
 โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก
ยาที่ใช้รักษาโรค Autism
ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษา autism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
 เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
 เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
 Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
 วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

ที่มา : http://siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/austism/autism.htmhttp://siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/austism/autism.htm

       -สอบกลางภาค



การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-ได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับเด็กออทิสติก เพื่อนำไปใช้ในอนาคตเมื่อเวลาฝึกสอนหรือตอนได้เป็นคุณครูแล้วจะได้นำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่11

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่ 16  มกราคม 2557
กลุ่มเรียน102 วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.30น.


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ทำให้นักศึกษาเดินทางมาเรียนไม่สะดวก



วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่10

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556
กลุ่มเรียน102 วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-17.30น.


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน  ดังนี้

  1.เด็กการเรียนรู้บกพร่อง
LD (Learning Disabilities) คือความบกพร่องในการเรียนรู้ในเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดเหนือกว่าเด็กอื่น
แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านช้ากว่าเพื่อนที่มีอายุเท่ากัน ทั้งๆ ที่เพื่อนอาจมี
สติปัญญาเท่ากันหรือต่ำกว่า การบกพร่องในการเรียนรู้ มิได้เกิดจากความเกียจคร้าน การขาดเรียน
มีความพิการ หรือปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งโรคนี้พบในเด็กวัยเรียได้ถึงร้อยละ 7


2.เด็กสมองพิการสมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น


3.เด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นคือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ได้แก่ ขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง (impulsivity), อาการซน (hyperactivity)
เด็กบางคนอาจจะมีอาการซนและการขาดความสามารถในการควบคุมตัวเองเป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบได้บ่อยพอ ๆ กันในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น


4.เด็กดาวน์ซินโดรม
เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง



      -อาจารย์ให้นักศึกษาลองทำGesell  Drawing  Test

รูปที่ 1 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 2 ปี
รูปที่ 2 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี
รูปที่ 3 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี ครึ่ง
รูปที่ 4 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 4 ปี
รูปที่ 5 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 5 ปี
รูปที่ 6 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 6 ปี
รูปที่ 7 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 7 ปี
รูปที่ 8 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 8 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 9 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 10 ปี
รูปที่ 10 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 11 ปี
รูปที่ 11 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 12 ปี

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม  การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ เพื่อนำไปใช้ในอนาคตเมื่อเวลาฝึกสอนหรือตอนได้เป็นคุณครูแล้วเจอเด็กพิเศษจะได้นำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม